สายการบินโลว์คอสต์คือสายการบินต้นทุนต่ำ
แต่ราคาไม่ได้ต่ำเสมอไป
เวลาที่สายการบินโลว์คอสต์ออกโปรโมชั่นมาทีไร
หลายคนคงกระโจนเข้าเว็บไซต์รีบจองกันหูตาเหลือกเพราะกลัวจะพลาดของดีราคาถูกไป
ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ค่ะว่าในบางครั้งราคาก็ถูกมากจริงๆ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องแลกกับ "การรอคอย" เพราะมักเป็นการจองล่วงหน้าข้ามปีทีเดียว ซึ่งต้องวัดดวงกันอีกทีว่า ณ
เวลานั้น เราจะยังว่างที่จะเดินทางหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม "อย่าคิดว่าสายการบินโลว์คอสต์ถูกที่สุด" เพราะว่า
- หากสายการบินทั่วไปที่ไม่ใช่โลว์คอสต์มีโปรโมชั่นตั๋วเครื่องบินราคาพิเศษ
บางทีเราอาจจะเสียเงินเพิ่มจากสายการบินโลว์คอสต์เพียงนิดเดียว
แต่ได้รับบริการแบบเต็มรูปแบบหรือ Full Service
ยกตัวอย่างเช่น สายการบินโลว์คอสต์ยี่ห้อหนึ่ง
มีโปรโมชั่นบินไปฮ่องกงด้วยราคาไปกลับประมาณ 4,000 บาท
และเมื่อรวมค่าโหลดกระเป๋าด้วยแล้ว ทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 5 พันเศษๆ
แต่ในบางช่วง สายการบินทั่วไปที่ไม่ใช่สายการบินโลว์คอสต์ ซึ่งปกติค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับฮ่องกงจะอยู่ที่ 8-9 พันบาท อาจมีจัดโปรโมชั่นราคาอยู่ที่ 6-7 พันบาทเท่านั้น แต่เราสามารถโหลดกระเป๋าได้ฟรี มีเสิร์ฟอาหารหรู ที่นั่งก็สบายกว่า มีจอส่วนตัว แบบนี้คุ้มกว่าเห็นๆ ค่ะ
- หากจองในระยะเวลากระชั้นชิด
สายการบินโลว์คอสต์ก็แพงเหมือนกัน เพราะราคาตั๋วสายการบินโลว์คอส์ตจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานด้วยค่ะ
เช่น เที่ยวบินที่กำลังจะบินในอีก 2-3 วันข้างหน้ามักมีราคาแพง (เพราะคนที่ซื้อแบบกระชั้นชิดแบบนี้
แสดงว่ามีความจำเป็นที่จะต้องบินจริงๆ) ดังนั้นราคาตั๋วจึงถีบตัวสูงขึ้น
ซึ่งอาจจะราคาพอๆ กับสายการบินทั่วไปก็ได้
ดังนั้นหากใครจะซื้อตั๋วเครื่องบินในเวลากระชั้นชิด แนะนำให้บินกับสายการบินทั่วไปน่าจะคุ้มกว่าค่ะ
ซื้อตั๋วเครื่องบินแบบแวะพักเครื่อง
มักถูกกว่าซื้อตั๋วแบบบินตรง
บินตรงหรือ Direct Flight คือการบินรวดเดียวแล้วถึงปลายทางเลยค่ะ เช่น กรุงเทพ-ลอนดอน ก็บินรวดเดียว 10 ชั่วโมงถึงเลย ซึ่งสายการบินที่ทำการบินตรงแบบนี้
มักเป็นสายการบินของประเทศต้นทางและปลายทางนั่นเองค่ะ ยกตัวอย่างเช่น
สายการบินที่ทำการบินตรงจากกรุงเทพ-ลอนดอน ก็คือ การบินไทย(ของประเทศไทย) และ
บริติชแอร์เวย์(ของอังกฤษ)
ซึ่งตั๋วเครื่องบินแบบบินตรงนั้นจะค่อนข้างราคาสูงทีเดียว
แต่ก็มีอีกตัวเลือกสำหรับคนที่อยากได้ตั๋วราคาถูกลงมาหน่อยหรือสำหรับคนที่ไม่ชอบนั่งเครื่องบินนานๆ แต่ก็จะต้องเสียเวลา "ไปเปลี่ยนเครื่องบินที่สนามบินที่อยู่ในประเทศของสายการบินนั้นๆ" เช่น
- หากบินกับสายการบิน
Emirates จะต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่อาหรับเอมิเรตส์
- หากบินกับสายการบิน Eva Air จะต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่ไต้หวัน
- หากบินกับสายการบิน Korean Air จะต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่เกาหลีใต้
- หากบินกับสายการบิน Malaysia Airlines จะต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่มาเลเซีย
- หากบินกับสายการบิน Cathay Pacific จะต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่ฮ่องกง
- หากบินกับสายการบิน Eva Air จะต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่ไต้หวัน
- หากบินกับสายการบิน Korean Air จะต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่เกาหลีใต้
- หากบินกับสายการบิน Malaysia Airlines จะต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่มาเลเซีย
- หากบินกับสายการบิน Cathay Pacific จะต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่ฮ่องกง
ซึ่งระยะเวลาการรอเปลี่ยนเครื่องก็แล้วแต่เลยค่ะ มีตั้งแต่ชั่วโมงกว่าๆ จนถึงรอข้ามคืนก็มี ข้อดีก็อย่างที่บอกไป คือราคาตั๋วแบบนี้มักถูกกว่าบินตรง เช่น หากบินตรงจากกรุงเทพ-ลอนดอน ค่าตั๋วเครื่องบินส่วนมากแพงกว่า 35,000 บาท แต่หากบินแบบแวะพักเครื่อง อาจโชคดีได้ตั๋วราคาต่ำกว่า 30,000 บาทก็ได้นะเออ
แต่ก็มีหลายคนนะคะที่นิยมแบบบินตรงมากกว่า เพราะไม่อยากเสียเวลาเปลี่ยนเครื่อง หรืออาจเป็นผู้สูงอายุที่ไม่อยากลุกขึ้นลุกลงบ่อยๆ เลยยอมจ่ายแพงกว่าและบินตรงทีเดียวถึงเลย
อย่าลืมสะสมไมล์
เป็นเรื่องที่หลายคนมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย การซื้อตั๋วเครื่องบินก็เหมือนการซื้อของในห้างค่ะ
สามารถสมัครสมาชิกและสะสมไมล์หรือคะแนนได้ และหากเรามีไมล์เยอะๆ
ในอนาคตก็สามารถนำไมล์นี้มาแลกเป็น "ตั๋วเครื่องบิน" ได้ค่ะ ยกตัวอย่างเช่น สายการบินเอมิเรตส์
หากบินไปกลับในแถบยุโรป 2 ครั้ง
จะได้ไมล์ในจำนวนที่สามารถเอาไปแลกได้ "ตั๋วเครื่องบินไปกลับฮ่องกง
1 ใบ" ค่ะ ว้าวววว
ฟังดูคุ้มเนาะ
นอกจากนี้ยังมีหลายๆ สายการบินที่รวมเป็นเครือพันธมิตรด้วยกัน ซึ่งหากเราบินสายการบินใดในเครือพวกนี้ ก็สามารถเก็บสะสมไมล์ไว้ด้วยกันได้ค่ะ เช่น
- เครือ Star Alliance
มีทั้งหมด 28 สายการบิน(เยอะมากกก) เช่น
สิงคโปร์แอร์ไลน์ การบินไทย แอร์แคนาดา อียิปต์แอร์ แอร์ไชน่า แอร์นิวซีแลนด์
ลูฟต์ฮันซา เป็นต้น
- เครือ Skyteam มีทั้งหมด 15 สายการบิน เช่น โคเรียนแอร์ แอร์ฟรานซ์ เวียดนามแอร์ไลน์ เดลต้าแอร์ไลน์ เคนย่าแอร์เวย์ เป็นต้น
- เครือ Oneworld มีทั้งหมด 11 สายการบิน เช่น เจแปนแอร์ไลน์ บริติชแอร์เวย์ ฟินน์แอร์ คาเธ่ย์แปซิฟิค เป็นต้น
สมมติใครบินการไทยกับสิงคโปร์แอร์ไลน์บ่อยๆ
ก็ควรต้องสมัครสมาชิกเครือ Star Alliance ไว้
ไม่งั้นเสียดายแย่เลยนะ
ที่นั่งท้ายเครื่องปลอดภัยกว่าหน้าเครื่อง
เวลาขึ้นเครื่องบิน
คนส่วนมากจะชอบเลือกนั่งแถวหน้าๆ เพราะจะได้ลงจากเครื่องได้ไว แต่จริงๆ แล้ว
ที่นั่งที่มีโอกาสรอดมากที่สุดในกรณีเครื่องบินเกิดอุบัติเหตุคือ "ที่นั่งบริเวณท้ายเครื่อง" ค่ะ
(ยกเว้นแต่ในกรณีเกิดอุบัติเหตุจากท้ายเครื่องนะ)
เคยมีเว็บไซต์ชื่อดังของอังกฤษเอาผลสำรวจมาเผยว่า ที่นั่งบริเวณแถวหน้าๆ ที่ทำเป็นสำหรับชั้น First Class และ Business
Class นั้นอันตรายที่สุด หากเครื่องบินตกล่ะก็ แทบไม่มีโอกาสรอด แต่คนที่นั่งหลังๆ จะมีโอกาสรอดสูงกว่า
ซึ่งจากผลสำรวจนี้ก็ทำเอายอดซื้อตั๋วที่นั่ง First Class และ Business Class ของชาวอังกฤษลดลงไปเป็นชั่วระยะเวลาหนึ่งเลยค่ะ แป่ว (เพราะแม้แต่ตัวพี่เองก็เลือกแต่ที่นั่งท้ายเครื่องตลอดตั้งแต่มีผลสำรวจนี้ออกมา
ขอสบายใจไว้ก่อน)
ผลสรุปคร่าวๆ คือ หากเกิดอุบัติเหตุ ที่นั่งบริเวณท้ายเครื่องจะมีโอกาสรอด 69% ที่นั่งบริเวณปีกเครื่องจะมีโอกาสรอด 56% และที่นั่งบริเวณหน้าเครื่องจะมีโอกาสรอดน้อยที่สุดคือ 49% ค่ะ
ที่นั่งตรงประตูทางออกฉุกเฉินสำคัญ!
ประตูทางออกฉุกเฉินก็ไม่ต่างอะไรจากประตูวิเศษที่สามารถช่วยเราให้รอดชีวิตออกจากเครื่องบินเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้
ดังนั้นเวลาก่อนจะขึ้นบิน
ลูกเรือจะสาธิตอุปกรณ์ในการช่วยชีวิตรวมถึงจะย้ำเกี่ยวกับประตูทางออกฉุกเฉินด้วยว่าอยู่บริเวณใดบ้าง
ซึ่งใครเกิดได้ที่นั่งตรงประตูทางออกฉุกเฉินนี่ก็ไม่รู้ว่าโชคดีหรือโชคร้ายนะคะ
เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ก็จำเป็นต้องคุมสติตัวเองให้ดีกว่าคนอื่นๆ และหากลูกเรือได้รับบาดเจ็บไม่สามารถให้ความช่วยเหลือ
คนที่นั่งติดกับทางออกฉุกเฉินนี่แหละค่ะที่จะต้องเป็นคนเปิดประตูนี้ออกและนำคนอื่นๆ
ออกจากตัวเครื่อง
ดังนั้นหากใครคิดว่าตัวเองนั้น....
- เคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว เชื่องช้า
- มีร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ เช่น สายตาผิดปกติ
- ไม่เข้าใจหรือไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดีพอที่จะรับคำสั่งหรือออกคำสั่งจากผู้อื่น
- หรือคิดว่าตัวเองไม่พร้อมจะทำหน้าที่นี้
ก็สามารถขอเปลี่ยนไปนั่งตำแหน่งอื่นได้ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและคนอื่นๆ บนเครื่องนั่นเองค่ะ
- เคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว เชื่องช้า
- มีร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ เช่น สายตาผิดปกติ
- ไม่เข้าใจหรือไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดีพอที่จะรับคำสั่งหรือออกคำสั่งจากผู้อื่น
- หรือคิดว่าตัวเองไม่พร้อมจะทำหน้าที่นี้
ก็สามารถขอเปลี่ยนไปนั่งตำแหน่งอื่นได้ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและคนอื่นๆ บนเครื่องนั่นเองค่ะ
#ขอบคุณบทความดีๆจากเว็บ Dek-D ด้วยนะค่ะ